สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน
๑. นักเรียนมีปัญหาในการอ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวอักษร
ปัญหาในการอ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวอักษร สามารถแบ่งแยกได้ตามประเภทของปัญหา ๒ ลักษณะ คือ อ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวอักษร โดยออกเสียงเป็นพยัญชนะที่มีรูปร่างคล้ายกัน เช่น ก ออกเสียงเป็น ภ หรือ ถ, พ ออกเสียงเป็น ผ, ฟ, ฝ ฯลฯ และอ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะอื่นนอกเหนือจากพยัญชนะที่ใกล้เคียง
แนวกิจกรรมที่ควรฝึก เช่น
๑.หาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงสระ พยัญชนะ กับภาพของตัวอักษร
๒.ฟังนิทานเกี่ยวกับตัวอักษรนั้น ๆ พร้อมดูรูปภาพประกอบ
๓.ร้องเพลงเกี่ยวกับตัวอักษรนั้น ๆ พร้อมดูรูปภาพประกอบ
๔.เล่นเกม (ดูในหัวข้อถัดไปนะคะ)
ฯลฯ
๒. มีปัญหาในการอ่านคำ
นักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านคำ สามารถจำแนกเหตุได้ ๓ ประการ คือ
๑.ไม่รู้จักสระ หรือสับสนเรื่องสระ
๒.ประสมคำไม่เป็น
๓.อ่านออกเสียงคำเพี้ยน
แนวกิจกรรมที่ควรฝึก เช่น
๑.ฝึกการอ่านเป็นคำ ๆ จากง่ายไปหายาก
๒.ฝึกจัดกลุ่มคำที่เหมือนหรือแตกต่างกัน
๓.ฝึกประสมคำจากภาพ,บัตรคำ,ของจริง
ฯลฯ
๓. มีปัญหาในการอ่านประโยค
นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านประโยค สามารถจำแนกสาเหตุได้ ๓ ประการ คือ
๑.การอ่านเพิ่มคำ
๒.การอ่านลดคำหรือข้ามคำ
๓.การอ่านเว้นวรรคไม่ถูกต้อง
แนวกิจกรรมที่ควรฝึก เช่น
๑.ฝึกเรียงคำให้เป็นประโยค
๒.ฝึกต่อคำให้เป็นประโยค
๔. มีปัญหาในการอ่านจับใจความ
แนวกิจกรรมที่ควรฝึก เช่น ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง / อ่านจากนิทาน บทเพลง เรื่องสั้น บทความ สารคดี เป็นต้น
...ยังมีต่อเจ้า..