การใช้นวัตกรรมการนิเทศแก้ปัญหาการอ่านการเขียน
และยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย
Best Practice รางวัลที่ ๑ ระดับชาติ ปี ๒๕๕๔
ชื่อนวัตกรรม “คุณธรรมนิเทศ ๕ นำพานักเรียนให้อ่านออกเขียนได้”
วัชราภรณ์ วัตรสุข
-------------------------------------------------------------------------------------------
๑.ความเป็นมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ตระหนักและเห็นความสำคัญจำเป็นในเรื่องการอ่านออกเขียนได้และการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน จึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ภาษาไทยและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภาพผู้เรียนช่วงชั้นที่ ๑-๔ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมาโดยการบริหารคุณภาพการศึกษาของ ๔ อำเภอ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในระดับอำเภอใช้การบริหารรูปแบบ “เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา”มีคณะทำงานของเครือข่ายเป็นผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในอำเภอนั้นๆ เป็นทีมงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ตระหนักและเห็นความสำคัญจำเป็นในเรื่องการอ่านออกเขียนได้และการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน จึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ภาษาไทยและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภาพผู้เรียนช่วงชั้นที่ ๑-๔ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมาโดยการบริหารคุณภาพการศึกษาของ ๔ อำเภอ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในระดับอำเภอใช้การบริหารรูปแบบ “เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา”มีคณะทำงานของเครือข่ายเป็นผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในอำเภอนั้นๆ เป็นทีมงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ โดยกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาได้ดำเนินการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนและนิเทศติดตามในเรื่องการแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำไม่ได้ตามมาตรฐาน โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ กำหนดขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานชัดเจน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดในแต่ละระดับชั้น มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืนได้
๒.วัตถุประสงค์
๒.๑ แก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน ระดับประถมศึกษา โดยมุ่งเน้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ และเน้นเป็นพิเศษในกลุ่มนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
๒.๒ ยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของทุกโรงเรียนในสังกัด
๓.การดำเนินงาน
๓.๑ นวัตกรรมการนิเทศ ที่กลุ่มนิเทศได้ดำเนินงาน ได้แก่ คุณธรรมนิเทศ ๕ นำพาให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้”เป็นการใช้กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ ที่ได้บูรณาการระหว่างแนวคิด ๓ ขั้นตอนการนิเทศ ของศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ และผู้รายงานได้คิดริเริ่มใช้เทคนิคการนิเทศ เรียกว่า “คุณธรรมนิเทศ ๕” ประกอบด้วย ยิ้ม ประนม ก้ม ขาน การให้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรที่จะก่อให้เกิดผลดีในการทำงานระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ โดยนำมาใช้ใน ๓ ขั้นตอนการนิเทศดังกล่าว สร้างเป็นรูปแบบ(Model)ขึ้นและนำมาใช้ในการดำเนินงาน จนปรากฏต่อสถานศึกษา ผู้รับการนิเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้กับผู้รับการนิเทศ
ขั้นตอนที่ ๒ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ทำได้จริงกับผู้รับการนิเทศ
ขั้นตอนที่ ๓ ติดต่อสื่อสารสม่ำเสมอ
ขั้นตอนที่ ๑ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้กับผู้รับการนิเทศ ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แจ้งจุดมุ่งหมาย กำหนดแผนงาน แนะนำ สาธิต ฝึกปฏิบัติ ทำแผนการจัดการเรียนรู้ ผลิตสื่อ การวิจัยในชั้นเรียน และแผนการนิเทศ ฯลฯ
ขั้นตอนที่ ๒ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ทำได้จริงกับผู้รับการนิเทศ ที่เน้นการสร้างเครือข่าย ได้แก่ ครูเครือข่าย ผู้บริหารเครือข่าย ศึกษานิเทศก์เครือข่าย ทดลองปฏิบัติจริง ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เอกสาร/สื่อ ให้คำปรึกษา แนะนำ ครูผู้สอนขยายเครือข่ายกว้างขึ้น
ขั้นตอนที่ ๓ ติดต่อสื่อสารสม่ำเสมอ ด้วยการนิเทศ ติดตาม เยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่อง ช่วยกันแก้ปัญหาและให้กำลังใจ
๓.๒ การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ความสำเร็จของการนิเทศที่เกิดขึ้น ได้กำหนดเงื่อนไข คือ (๑) การอาสาปฏิบัติ (๒) ร่วมคิดร่วมทำ (๓) สร้างความเป็นมิตร (๔) ทำงานเป็นทีม (๕) ไม่มุ่งเน้นปริมาณ ดังนั้นจึงมีการร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ศึกษานิเทศก์กลุ่มสาระภาษาไทย ๓ คน ศึกษานิเทศก์ทุกคนในกลุ่มนิเทศฯรวม ๑๑ คน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ทั่วประเทศ กลุ่มครูผู้สอนภาษาไทย ๕๙๔ คนและสาระอื่นๆ ๘๖๐ คน จากสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา รวม ๙๓ คน กลุ่มผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาที่ร่วมพัฒนา ในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
๓.๓ การใช้ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ คุณธรรมนิเทศ ๕ ที่ผู้รายงานได้ใช้โดยตลอด ในกระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ ได้แก่
(๑)ยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ
(๒)ประนม ให้ความเคารพด้วยการประนมมือไหว้จนเป็นนิสัย เป็นคุณลักษณะที่ผู้นิเทศควรกระทำเพื่อการเป็นตัวอย่างที่ดีงาม
(๓)ก้ม อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยความจริงใจและนุ่มนวลเพื่อก่อให้เกิดมิตรไมตรีในการประสานงานการนิเทศ
(๔)ขาน ใช้คำพูดสุภาพ จริงใจและสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกที่ดีต่อกัน พร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมใจขจัดปัญหาต่างๆและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่เด็ก เน้นการพูดกระตุ้นให้ครูคิดหาวิธีการ/แนวทางในการทำงานด้วยตนเอง
(๕)การให้ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัย ได้แก่ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้เวลา ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้สื่อ ให้ความเป็นมิตร ให้การแบ่งปัน และ ให้อภัย เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้งานสำเร็จลุล่วงด้วยดีอย่างยิ่ง ปรากฏผลเชิงประจักษ์ชัดเจน
(๒)ประนม ให้ความเคารพด้วยการประนมมือไหว้จนเป็นนิสัย เป็นคุณลักษณะที่ผู้นิเทศควรกระทำเพื่อการเป็นตัวอย่างที่ดีงาม
(๓)ก้ม อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยความจริงใจและนุ่มนวลเพื่อก่อให้เกิดมิตรไมตรีในการประสานงานการนิเทศ
(๔)ขาน ใช้คำพูดสุภาพ จริงใจและสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกที่ดีต่อกัน พร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมใจขจัดปัญหาต่างๆและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่เด็ก เน้นการพูดกระตุ้นให้ครูคิดหาวิธีการ/แนวทางในการทำงานด้วยตนเอง
(๕)การให้ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัย ได้แก่ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้เวลา ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้สื่อ ให้ความเป็นมิตร ให้การแบ่งปัน และ ให้อภัย เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้งานสำเร็จลุล่วงด้วยดีอย่างยิ่ง ปรากฏผลเชิงประจักษ์ชัดเจน
๓.๔ แนวทางการพัฒนาต่อยอด ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
กลุ่มนิเทศได้กำหนดภาพความสำเร็จในอนาคต ๓ ประการ คือ
(๑)คุณภาพของครูผู้สอน
(๒)คุณภาพการจัดการเรียนรู้
(๓)คุณภาพผู้เรียนที่อ่านออก คิดเป็น เขียนได้สู่คุณภาพสังคมไทย พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
กลุ่มนิเทศได้กำหนดภาพความสำเร็จในอนาคต ๓ ประการ คือ
(๑)คุณภาพของครูผู้สอน
(๒)คุณภาพการจัดการเรียนรู้
(๓)คุณภาพผู้เรียนที่อ่านออก คิดเป็น เขียนได้สู่คุณภาพสังคมไทย พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
๓.๕ การวางแผนต่อยอด ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖ ดังนี้
(๑)จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ภาษาไทยและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘ (เดิมที่ได้จัดทำคือ แผนพัฒนาฯฉบับปีพ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓) โดยปรับเพิ่มนโยบาย/มาตรการ/กลยุทธ์/การดำเนินงาน ในเรื่องต่อไปนี้ คือ
๑.๑ การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑
๑.๒ จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สพฐ. ๑๐ ประการ พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕
๑.๓ การเตรียมพร้อมในการใช้ภาษาไทยและการสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืนสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘
(๑)จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ภาษาไทยและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘ (เดิมที่ได้จัดทำคือ แผนพัฒนาฯฉบับปีพ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓) โดยปรับเพิ่มนโยบาย/มาตรการ/กลยุทธ์/การดำเนินงาน ในเรื่องต่อไปนี้ คือ
๑.๑ การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑
๑.๒ จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สพฐ. ๑๐ ประการ พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕
๑.๓ การเตรียมพร้อมในการใช้ภาษาไทยและการสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืนสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘
(๒)ใช้กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ โดยใช้คุณธรรมนิเทศ ๕ ที่ได้คิดริเริ่มขึ้นต่อไป โดยเพิ่มวิธีการ Coaching ในการนิเทศ เน้นการกระตุ้นให้ครูผู้สอนแสวงหาแนวทางและวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่าน คิด เขียน และการเป็นผู้มีนิสัยรักการอ่าน ให้ครบเต็มพื้นที่ร้อยละ ๑๐๐
(๓)ใช้กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ โดยใช้คุณธรรมนิเทศ ๕ ที่ได้คิดริเริ่มขึ้นต่อไป ใช้รูปแบบการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) รวม ๗ ขั้นตอน คือ
๑.การบ่งชี้ความรู้ ถึงความรู้ที่จะเป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ที่มีความรู้ โดยอิงจากยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายขององค์กร ซึ่งได้แก่แผนกลยุทธ์ของ สพฐ.และ สพป.เชียงใหม่ เขต ๑
๒.การสร้างหรือแสวงหาความรู้ ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความรู้ที่เป็นประโยชน์
๓.การจัดหมวดหมู่ความรู้ให้เป็นระบบสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสามารถอ้างอิงได้
๔.การประมวลและกลั่นกรององค์ความรู้ ให้สามารถเข้าใจได้ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกลั่นกรองความรู้ให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
๕.การเข้าถึงความรู้:โดยเตรียมระบบการเข้าถึงความรู้ที่เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและในเวลาที่ต้องการ
๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ :
๗.การเรียนรู้นำไปใช้งาน ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้