วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศน.อ้วน สู้ๆ..




กำลังใจ..จากกัลยาณมิตร
ครูรักอ่านรักภาษาไทยที่น่ารัก
ครูน้องขวัญ..ลินลดา

ครูในดวงใจ ครูไวท์&ครูขวัญ


กัลยาณมิตรนิเทศ : ภาษาไทยงดงามผ่านเพลงและดนตรี
โดยครูศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีซีไรท์ ประจำปี ๒๕๓๕

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สื่อภาษาไทย : จากใจศึกษานิเทศก์



บันทึกของ ศน.อ้วน..ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่เว็บไซต์ GOTOKNOW
แต่พิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูภาษาไทย 
ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
นำมาฝากเพื่อนๆผู้รักการแสวงหาความรู้ 
เพื่อการพัฒนางานและผู้สนใจทั่วไป..เจ้า


 ลองคลิก..เจ้า ทุกเรื่อง (อย่างยาวเลยยยย...) จริงๆนะ...

๑. 
http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/279630  
     ก ไก่น้อมไหว้ ฉบับครูกานท์  (การแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้)

๒. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/322532
    บทดอกสร้อย ก ข ที่แสนไพเราะและทรงคุณค่า (๑) (สื่อการเรียนการสอนภาษาไทย)
๓. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/317336
    บทดอกสร้อย ก ข ที่แสนไพเราะและทรงคุณค่า (๒) (สื่อการเรียนการสอนภาษาไทย)
๔. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/284621
    บันทึกรักของคน "ค่ายเติมฝันปันรัก)  (การจัดค่ายสำหรับเด็ก เรื่องการอ่าน-การเขียน)
๕. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/268218
    จำเขาได้ไหม เด็กชายใหม่ รักหมู่ (สื่อแบบเรียนภาษาไทย สื่อฝึกอ่านฝึกคิดวิเคราะห์)
๖. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/257595
    ออมคำในคลังใจ (โครงการสี่เดือนอ่านออกเขียนได้ของครูกานท์)
๗. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/257510
    คลังคำภาษาไทย (สื่อการสอนภาษาไทย) 
๘. http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/220284
    อะหยังเอ๊าะ (สื่อส่งเสริมการอ่าน ภูมิปัญญาล้านนา ประเภทปริศนาคำทาย)  
๙.http://www.gotoknow.org/blog/pasathaiauon/182222
   สูตรไม่ลับ รหัสรัก (คุณธรรมนิเทศ ๕ : ของ ศน.อ้วนค่ะ)      
๑๐.http://www.gotoknow.org/blog/auon11/338071
    แบบฝึกซ่อมเสริมทักษะอ่านเขียนภาษาไทย ชั้น ป.๑-๓ (สื่อการเรียน)
๑๑. http://www.gotoknow.org/blog/auon11/292053
     หนังสือทำมือ ตอน ๑ (ขั้นตอนการผลิตสื่อการเรียนการสอน, สื่อส่งเสริมการอ่านอย่างง่าย)                        
๑๒. http://www.gotoknow.org/blog/auon11/299113       หนังสือทำมือ ตอน ๒ (ขั้นตอนการผลิตสื่อการเรียนการสอน, สื่อส่งเสริมการอ่านอย่างง่าย)
๑๓. http://www.gotoknow.org/blog/auon11/300008 
      หนังสือทำมือ ตอน ๓ (ขั้นตอนการผลิตสื่อการเรียนการสอน, สื่อส่งเสริมการอ่านอย่างง่าย)


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนังสือทำมือ..หนังสือเล่มเดียวในโลก (ตอน ๑)

หนังสือทำมือ
หนังสือเล่มเดียวในโลก 
[ของฝากจากใจ ศน.อ้วน : ตอนหนึ่ง]



หนังสือทำมือคืออะไร..
หนังสือทำมือ..หนังสือมือทำ  ..หนังสือทำด้วยมือ  คือชื่อที่มีความหมายเดียวกัน   
คือ..หนังสือที่ทำด้วยมือของผู้จัดทำล้วนๆ 
อาจเป็น หนังสือเล่มเดียวในโลก  หมายถึง ทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวเท่านั้น  
เป็น..หนังสือทำด้วยมือหน้าเดียว 
เป็น..หนังสือทำด้วยมือหลายหน้า  
เป็น..หนังสือทำด้วยมือที่รวมเป็นรูปเล่ม
เป็น..หนังสือภาพสามมิติหน้าเดียว 
เป็น..หนังสือภาพสามมิติหลายหน้า 
                  ฯลฯ


ใครคือผู้จัดทำหนังสือทำมือ
·        ผู้ที่สนใจอยากทำ(ใครก็ได้ค่ะ)
·        ครู
·        นักเรียน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ หนังสือทำมือง่ายๆ
·        กระดาษธรรมดาๆ  ขนาดใดก็ได้  เล็ก กลาง ใหญ่ 
·        ชนิดของกระดาษ  ตั้งแต่ขาวๆ ธรรมดาๆ  กระดาษพิมพ์งานทั่วไป จนถึงกระดาษหลากสี
       หลากสไตล์  ที่ผู้จัดทำพิจารณาแล้วว่าสวย  เหมาะ 
·        ดินสอ  ปากกา  สี  กรรไกร  กาว  คัทเตอร์  ไม้บรรทัด ฯ 
·        อุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับ Concept ของผู้จัดทำ) เช่น ดอกไม้ ใบหญ้าแห้ง เชือก ฯ





เนื้อหาของหนังสือทำมือ 
·        ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้จัดทำว่าต้องการทำหนังสือทำมือเรื่องอะไร ทำให้ใครอ่าน 
·        กำหนดวัตถุประสงค์เดียวในหนังสือเล่มนี้ อาทิ
J อวยพรแก่ผู้รับหนังสือเนื่องในโอกาสต่างๆ
J เขียนสั้นๆ ย่อๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (สารคดี)
J นำเสนอสำนวนไทย ๑ สำนวน 
J นำเสนอสุภาษิตไทย ๑ สุภาษิต
J นำเสนอปริศนาคำทาย ๑ ปริศนา
J นำเสนอนิทาน ๑ เรื่อง
J นำเสนอพยัญชนะไทย ๑ ตัว  (สระ, วรรณยุกต์)
J นำเสนอความรู้ ๑ เรื่อง
J นำเสนอเพลง ๑ เพลง
         ….ฯลฯ....


ข้อฝากสำหรับคุณครูที่สนใจจะทำหนังสือทำมือ 
·        ความยากง่ายของเนื้อหา ควรคำนึงถึงวัย และพัฒนาการของผู้อ่านเป็นหลัก
·        ความยาวของเนื้อหา เช่นเดียวกัน
·        ความน่าสนใจของหน้าหนังสือ  เช่น ภาพที่ตกแต่งประกอบเรื่อง  อาจเป็นภาพวาด ภาพที่   ตัดจากหนังสือ แผ่นพับ แผ่นปลิว หรือวารสาร นิตยสารต่างๆ  ควรชัดเจน สวยงามสื่อความหมายได้ตรงกับเนื้อหา 
·        สัดส่วนของเนื้อหากับภาพประกอบ  ควรเหมาะสมกับวัย  วุฒิภาวะของผู้อ่าน อาทิ
J หากเป็นเด็กเล็กๆ ภาพควรใช้พื้นที่มากกว่าเนื้อหา เช่น ๗๐:๓๐ , ๖๐:๔๐
J หากเป็นเด็กอายุประมาณ ๘-๑๐ ปี สัดส่วนของภาพกับเนื้อหาก็  ๕๐ : ๕๐ 
J หากโตขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง อายุประมาณ ๑๑-๑๓ ปี สัดส่วนของภาพก็จะลดขนาดลง เนื้อหาก็เพิ่มมากขึ้น  เช่น ๔๐:๖๐ หรือ ๓๐:๗๐
J หากเป็นเด็กเริ่มสู่วัยรุ่น อายุตั้งแต่ ๑๔ ปีขึ้นไป ขนาดของภาพก็อาจลดลงเหลือ ๒๐:๘๐ หรือ บางเนื้อหาอาจไม่ต้องมีภาพก็ได้  เป็นต้น
·        รูปทรง หรือ รูปลักษณ์ของรูปเล่ม  ผู้จัดทำสามารถทำได้ตามชอบ อาจเป็นรูปหนังสือธรรมดา หรือ มีรูปทรงแปลกๆ เพื่อให้ต้องตาต้องใจผู้อ่าน
·        ความประณีต เรียบร้อย งดงาม และ ความมั่นคงของรูปเล่ม เป็นสิ่งที่ผู้จัดทำต้องไม่ลืมด้วย



ใครคือผู้จัดทำหนังสือทำมือ
·        ผู้ที่สนใจอยากทำ(ใครก็ได้ค่ะ)
·        ครู
·        นักเรียน




ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ..น่าสนใจด้วย
ลองมาดูคุณครูภาษาไทยแม่ฮ่องสอนทำ “หนังสือทำมือ” กันนะคะ
...เพียงคืนเดียวก็ทำได้
คุณครูหลายท่านตั้งอกตั้งใจทำโดยใช้เวลาทั้งคืน
บางท่านบอกว่าทำครึ่งชั่วโมง
บางท่านบอกว่าทำไม่ทัน  แต่มีของเดิมอยู่แล้วจึงเอามาแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง
เป็นการแสดงถึงความสามารถของการเป็น ครู” ได้อย่างน่าประทับใจ

ครูของศิษย์..ครูเพื่อศิษย์โดยแท้

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรที่แสนน่ารัก



คุณครูหมายเลข ๑  เป็นหนังสือนิทาน ๖ ช่อง ทำด้วยกระดาษ A ๔ ธรรมดาสัดส่วนของภาพกับข้อความประมาณ ๖๐: ๔๐   ในแต่ละหน้าภาพสวย สื่อความได้ตรงกับเนื้อหา  ภาพขยาย (๙) และข้างล่างค่ะ  ..ปรบมือให้ค่ะ..สวยๆ

คุณครูหมายเลข ๒  เป็นหนังสือสำนวนไทย  ทำด้วยกระดาษ A ๔  พับ ๔  หน้าแรกเป็นสำนวนไทย   หน้าที่ ๒ เป็นความหมาย  หน้า ๓-๔ เป็นตัวอย่างของการการใช้สำนวนไทย และรายละเอียดอื่นประกอบ  ..น่ารักมากค่ะ.. มีภาพประกอบที่สื่อถึงสำนวนไทยด้วย
คุณครูหมายเลข ๓  เป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็กที่มีหลายหน้า รูปทรงของหนังสือเป็นรูปสัตว์ นำเสนอเนื้อหาด้วยการเขียนด้วยลายมือของคุณครู  พร้อมวาดรูปประกอบ(เสียดายที่ไม่ได้บันทึกภาพไว้ชัดๆ เพราะมัวแต่ฟังคำอธิบายของผู้จัดทำ)..สวยงามน่าสนใจค่ะ..
คุณครูหมายเลข ๔  หนูนา..ทำหนังสือภาพพยัญชนะไทย  เขียนด้วยกลอนสี่(ใช่นะคะ หนูนา)ที่นำเสนอเป็นตัว ก ไก่ ภาพประกอบเป็นภาพ ๓ มิติ เป็นประตูบ้านของไก่น้อย..น่ารักมากๆ ค่ะ  คุณครูหนูนาตั้งใจจะทำครบ ๔๔ ตัว  สำหรับลูกสาวตัวเล็กจ้อยด้วย  เหมาะสำหรับเด็กอนุบาลและเด็กชั้น ป.๑ ทั้งเด็กพื้นราบและเด็กชาวเขา
คุณครูหมายเลข ๕, ๖, ๑๐   เป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก เช่นเดียวกัน ต่างกันที่เนื้อหา บ้างเป็นนิทาน บ้างเป็นความรู้ เช่น เรื่องตัวละครในวรรณคดีไทย   บ้างเป็นบทความจากวารสารต่างๆ ตัดมาปะเพื่อให้เด็กฝึกการอ่านวิเคราะห์  ..ยอดเยี่ยมทุกท่านค่ะ..
คุณครูหมายเลข ๗ เป็นหนังสือสามมิติหน้าเดียว หรือเรียก pop up  ของหนุ่มหล่อเสื้อเหลือง ซึ่งอธิบายว่าเป็นสื่อที่ทำคืนเดียว  เนื้อหานำเสนอเพลง ตาแก่ขี้เมา  เป็นเพลงเพื่อชีวิตของแอ๊ดคาราบาว  ทำด้วยกระดาษวาดขนาดสมุดเล่มใหญ่ ๑ แผ่น พับครึ่ง มีภาพตาแก่ขี้เมาผมยาวเป็นตัวการ์ตูนประกอบ เมื่อคลี่หนังสือออกก็จะเห็นตาแก่ขี้เมาลุกขึ้นยืน ครึ่งกระดาษด้านบน นำเสนอเนื้อเพลง  ครึ่งกระดาษด้านล่างเป็นข้อคำถามเพื่อฝึกคิดวิเคราะห์ ระดับมัธยม  สุดยอดๆค่ะ..เหมาะมาก  รับรองได้ใจเด็กมากเลยทีเดียว
คุณครูหมายเลข ๘   เป็นหนังสือสามมิติหน้าเดียวเช่นกัน  สวยงามมากเช่นกัน ภาพมีขนาดใหญ่ เนื้อหาเป็นเรื่อง สุภาษิตไทย (ภาพขยาย หมายเลข ๑๑)
และมีคุณครูอีกหลายท่านที่มีความพยายามที่จะทำหนังสือทำมือ แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา  ผู้เขียนชื่นชมและประทับใจมาก พร้อมกับได้ฝากแนวทางเพิ่มเติมสำหรับคุณครูที่สนใจที่จะทำ“หนังสือทำมือ”ทุกรูปแบบ 





ฝากคุณครูที่รักทุกท่านอีกนิดค่ะ ..
*การเขียนนิทานด้วยลายมือ ควรถูกต้องตามอักขรวิธี  
*ลายมือควรสวยงาม อ่านง่าย เพื่อการเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักเรียน
*การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  การวางสระ วรรณยุกต์ ควรตรวจสอบให้ละเอียดลออ
*หนังสือทำมือเป็นสื่ออย่างง่าย..ง่ายที่สุด..สำหรับให้นักเรียนได้ใช้ในการอ่าน
*ประหยัดวัสดุอุปกรณ์  (แก้ปัญหาเรื่องงบประมาณของโรงเรียนที่มีน้อย)
*คุณครูสามารถสร้างหนังสือทำมือเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน แล้วให้นักเรียนสร้างเอง
*หากมีนักเรียน ๒๐ คน คุณครูก็จะได้ “หนังสือทำมือ”  หรือ “หนังสือเล่มเล็ก” ไว้เป็นสื่อประกอบการอ่าน  ที่แสนน่ารัก  รวม ๒๐ เล่ม (ต่อหนึ่งครั้ง)
*เพื่อให้งานมีคุณภาพ ..หนังสือทำมือเล่มแรกของนักเรียนอาจยังไม่ถูกต้อง ในเรื่อง
        -การเขียน ลายมือยังไม่ดี  
        -ภาพประกอบยังไม่สื่อ เช่น วาดเสือ แต่ดูเหมือนแมว 
        -บางเรื่องที่นำเสนอเป็นบทร้อยกรองอาจยังไม่ถูกต้องตาฉันทลักษณ์เป็นต้น 
*คุณครูสามารถเป็นบรรณาธิการกิจสำหรับนักเรียนด้วย  ..อาจมีการแก้ไขมากกว่าหนึ่งครั้ง สำหรับนักเรียนบางคน  หรือมากกว่านั้น  แต่ท้ายที่สุดก็จะได้ผลงานที่ดี
*ย้ำๆนะคะ..ก่อนจะเป็นหนังสือใช้สำหรับอ่าน หรือประกอบการสอน ควรมีการตรวจสอบหลายๆครั้ง โดยคุณครู..และโดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการแสดงความคิดเห็น   ก่อนที่จะคัดเลือกไว้ในห้องสมุดต่อไป
*ความบรรเจิดสวยงามที่บังเกิดขึ้น สำหรับเด็กที่ได้ทำหนังสือทำมือด้วยตัวเอง..
 นั่นคือ“ความภาคภูมิใจ” และ “ความสุขที่ยิ่งใหญ่” 
 สิ่งต่อไปคือ “นิสัยรักการอ่าน”





..เพียงกระดาษแผ่นเดียว+ความคิดสร้างสรรค์+จินตนาการ..
ทำด้วย Head  Hand  Heart

คุณครูก็มีสื่อการสอนแล้ว
นักเรียนก็มีหนังสือเล่มเล็กๆไว้อ่าน
ห้องสมุดโรงเรียนมีหนังสือที่นักเรียนเขียนเอง..เป็นผู้ประพันธ์
ปัญหาการขาดหนังสือสำหรับโรงเรียนไกลกันดารก็จะลดลง

ครูเขียน..นักเรียนอ่าน
พี่ทำ..น้องอ่าน

กิ๊บเก๋ยูเรก้า..จริงไหมคะ




รายละเอียดของการจัดทำหนังสือทำมือทั้งหมดนี้
ผู้เขียนเขียนจากประสบการณ์ในการนิเทศการเรียนการสอน
ดังนั้นหากท่านผู้รู้ที่มีประสบการณ์เห็นว่ารายละเอียดใดยังไม่ถูกต้อง
กรุณาแลกเปลี่ยนและบอกกล่าวได้นะคะ
ยินดีรับฟังและแก้ไขค่ะ
ด้วยใจจริงค่ะ
ศน.อ้วน

********************************************