วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

คลินิกนิเทศออนไลน์ (๒)

      



บันทึกนี้..ตั้งใจจะพบกับคุณครูภาษาไทย,คุณครูทุกท่านและท่านที่สนใจที่ต้องการจะคุยกับศน.อ้วนโดยตรงค่ะ ในเรื่องราวต่าง ๆที่เกี่ยวข้องและเป็นปัญหาด้านการเรียนการสอน  การพัฒนาผลการปฏิบัติงานสู่ผลงานทางวิชาการ ฯลฯ  เพราะมีคุณครูหลายท่านโทรศัพท์บอกความในใจว่าเกรงใจผู้อ่านท่านอื่น  หากจะคุยหรือสอบถามในบันทึกอื่น ๆ    ดังนั้นหน้าบันทึกนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับการแบ่งปันความรู้, ประสบการณ์..ด้วยรักจากใจศึกษานิเทศก์..ถึงเพื่อนครู..กัลยาณมิตรทุกท่าน

            จากใจ ๑    ถึงเพื่อนครู ตอนนี้ จะขอนำคำถามของคุณครูที่ถาม ในบันทึก "หอมกลิ่นดอกรัก" มาวางไว้ก่อนนะคะ   เพราะมีคุณครูหลายท่านสนใจ..แต่สืบค้นไม่เจอ  เนื่องจากเป็นการถามตอบในกล่องการแสดงความคิดเห็น..

มีคุณครูที่สนใจถามคำถามมา ดังนี้ ค่ะ.. ดิฉันสอนภาษาไทยชั้น ม.1-ม.และมีความสนใจที่จะทำแบบฝึกทักษะการคิดระดับสูงสำหรับนักเรียนมัธยมค่ะ  หากไม่รบกวนจนเกินไป ขอท่านช่วยแนะนำเรื่องการจัดทำแบบฝึกด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

·     ต้องขอโทษด้วยค่ะ...ที่ไม่ได้มาตามนัด..หากคุณครูรออ่านอยู่
·     แต่ไม่เป็นไรนะคะ..คิดว่าคุณครูคงมีเวลาทันอยู่ในการวางแผนงาน
·     เอ..จะเริ่มต้นอย่างไรดีคะนี่..จะได้ให้คุณครูชัดเจนทั้งกระบวนการ
·     ขอเริ่มที่คำว่า " ทักษะการคิดระดับสูง" นะคะ

·     เป้าหมายของคุณครูน่าจะอยู่ที่ มาตรฐานการศึกษาระดับชาติ ทั้งของ สพฐ.(ประกันคุณภาพภายใน)และสมศ.(ประกันคุณภาพภายนอก) มาตรฐานที่ ๔        ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  มีวิจารณญาณ  มีความคิดสร้างสรรค์   

·     หมายความว่าสื่อแบบฝึกของคุณครูที่จะสร้างขึ้น  ต้องตอบโจทย์มาตรฐานที่ นี้ได้   คือ..คุณครูต้องปักธง..ไว้ว่านักเรียนของคุณครูต้องแสดงความสามารถด้านการคิด..ได้ตามมาตรฐาน..นะคะ

·      มาตรฐานที่ นี้แหละค่ะ..ที่ผลการประเมินของ สมศ. ทั้งรอบแรก และ รอบที่สอง..ออกมาไม่น่าพึงพอใจ  โดยรอบแรกสถานศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับปรับปรุง...พอมาในรอบสองดีขึ้นหน่อย คือขึ้นไปอยู่ระดับพอใช้.. จะมีเป็นส่วนน้อยที่ขึ้นไปอยู่ในระดับดี และ ดีมาก  นั่นคือผลต้องปรากฏชัดเจน

·      ศน.อ้วน(ขออนุญาตเรียกตัวเองสั้น ๆอย่างนี้นะคะ) เคยเป็นผู้ประเมินภายนอก สังกัดบริษัท ตั้งแต่   ปี ๒๕๔๖-๒๕๔๙   แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น ผู้ประเมินอภิมานภายนอก ของ สมศ.แล้วค่ะ  หน้าที่ก็คือ ประเมิน "รายงานการประเมินของบริษัทที่ประเมินภายนอก" อีกครั้งหนึ่ง เพื่อ สมศ.จะให้การรับรองหรือไม่ต่อไป   

·     จากประสบการณ์ในการเป็นผู้ประเมินก็จะรับผิดชอบประเมินคุณภาพผู้เรียน มฐ.๑-๗โดยตลอดมา  ยืนยันได้ว่า มาตรฐานที่ ๔ สถานศึกษาค่อนข้างประสบผลสำเร็จน้อย (A3)  เพราะ  ความตระหนัก (A1) ความพยายาม(A2) มีร่องรอยปรากฏน้อย..ค่ะ     จึงส่งผลให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการคิดได้น้อย

  ดังนั้น..จึงชื่นชมที่คุณครูมาถูกทางแล้วค่ะ..
  โปรดติดตามต่อ..